วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

:: ออยเกน โกลด์สไตน์ ::


เป็นนักชาวฟิสิกส์เยอรมัน  เป็นผู้ทำการทดลองเพื่อศึกษาอนุภาคบวกที่อยู่ในแก๊ส โดยศึกษาการเคลื่อนที่ของประจุบวกที่มาจากขั้วแอโนดผ่านไปยังรูที่เจาะไว้ที่ขั้วแคโทด
ดังรูป
เขาพบว่าเมื่อเปลี่ยนชนิดของแก๊สที่บรรจุอยู่ในหลอดรังสีทำให้การเบนของรังสีแอโนดแตกต่างกันไป ทำให้เขาไม่สามารถสรุปได้ว่าอนุภาคบวกนี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่มีในทุกธาตุเพราะ แก๊สที่นำมาบรรจุในหลอดรังสีหาค่าประจุต่อมวลได้ไม่เท่ากันนั่นเอง
ผมอยากอธิบายถึงสาเหตุที่การเบี่ยงเบนของรังสีแอโนดในแก๊สแต่ละชนิดถึงมีค่าประจุต่อมวลไม่เท่ากัน เพราะว่า แก๊สแต่ละชนิดมีอนุภาคบวกอยู่ในนิวเคลียสซึ่งใน เอาง่ายๆก็คือมันจับกันเป็นก้อนอยู่เลยละครับ แล้วเมื่อมันเคลื่อนที่ผ่านสนามไฟฟ้าจึงเกิดการดึงดูดระหว่างประจุบวกและลบ ซึ่งในธาตุแต่ละชนิดนั้น มีจำนวนประจุบวกในนิวเคลียสที่รวมกันอยู่เป็นก้อนแตกต่างกันเวลานิวเคลียสที่มีประจุบวกแตกต่างกันเคลื่อนที่ผ่านสนามไฟฟ้าจึงเกิดการเบนที่แตกต่างกันนั่นเองครับ โดยถ้ามวลมากจะเกิดการเบนน้อย รัศมีการเบนจะมาก แต่ถ้ามวลน้อย การเบนจะมาก และรัศมีการเบนจะน้อย สามารถสรุปเป็นความสัมพันธ์ดังนี้
เมื่อ    r คือ  รัศมีการเบน
      m คือ มวลของอนุภาคบวก
       q คือ  ประจุของอนุภาคบวก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น